วันเสาร์ที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

เมื่อบอลไทยต้องเล่นรอบคัดเลือก AFC Champion League

จากผลการประเมินของ AFC เป็นดังรูป หมายความว่าสโมสรของไทยต้องไปเล่นรอบคัดเลือกก่อน โดยคัดกับสโมสรของเวียดนาม, สิงคโปร์ และทีมอันดับ 1 หรือ 2 ของ AFC Cup ที่อยูโซนเดียวกับเรา
โดยที่โควต้าแบ่งเป็นดังนี้

สายตะวันตก

  • 4 ทีม : ซาอุดิอาระเบีย, สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อิหร่าน
  • 1 ทีม : จอร์แดน, คูเวต, อินเดีย
  • เล่นรอบคัดเลือก : ซีเรีย, อุซเบกิสฑาน, กาต้า และ อันดับ 1/2 ACF Cup
สายตะวันออก
  • 4 ทีม : ซาอุดิอาระเบีย, สาธารณรัฐอาหรับเอมิเรตส์, อิหร่าน
  • 2 ทีม : ออสเตรเลีย
  • 1 ทีม : อินโดนีเซีย
  • เล่นรอบคัดเลือก : ไทย, เวียดนาม, สิงคโปร์ และ อันดับ 1/2 ACF Cup

โดยสายการแข่งขันแบ่งเป็นรูป โดยที่รอบแรกถึงรอบรองชนะเลิก เป็นการเตะแบบเหย้า-เยือน
ยกเว้นนัดชิงชนะเลิกจะเตะนัดเดียวเหมือนกับ UEFA Champion League

ซึ่งทีมที่ไม่ผ่านรอบคัดเลือก็จะต้องไปเล่น AFC Cup แทน

จากที่ผมไปอ่านผลการประเมิน เราเป็นรองอินโดนีเซียไม่มาก แต่ที่ทำให้เราได้ Grade C ก็คือจำนวนผู้ชมในแต่ละนัด และมาตรฐานของโค้ชนั่นเอง

ซึ่งจะมีการประเมิณครั้งสุดท้ายวันที่ 15 ตุลาคมนี้ แต่ก็โอกาสน้อยมากๆ ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงโควต้า ยังไงก็ขอเป็นกำลังใจให้สมาคมนะครับ

AFC Professional League Information

Please see below a list of relevant information with articles and documents on the AFC Professional League:

วันอาทิตย์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2551

วัฒนธรรมการเล่น, การชมและการเชียร์กีฬาที่ดี

ร้อยโท สุวิทย์ ยอดมณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (รมว.กก.) ออกประกาศวัฒนธรรมการเล่น ชม และเชียร์กีฬาที่ดี เพื่อปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมในการเป็นผู้เล่น, ผู้ชม และผู้เชียร์กีฬาที่ดี ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว


วันนี้(13 ธค.50) ที่กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ร้อยโท สุวิทย์ ยอดมณี ได้เปิดเผยว่า ตนได้ลงนามในประกาศกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เรื่อง วัฒนธรรมในการเล่น ชม และเชียร์กีฬาที่ดี
ให้แก่เด็กนักเรียน นักศึกษา เยาวชนและประชาชน ให้เป็นผู้มีระเบียบวินัย มีคุณธรรม จริยธรรม และมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ถวายแด่ในหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 โดยมีข้อกำหนดด้านวัฒนธรรมในการเป็นผู้เล่นกีฬาที่ดี การเป็นผู้ชมและผู้เชียร์กีฬาที่ดี

สำหรับ ข้อกำหนดในประกาศดังกล่าวในส่วนของผู้เล่นกีฬาที่ดี มี 5 ข้อ ได้แก่
  1. ผู้เล่นควรแต่งกายถูกต้องตามระเบียบ กติกาของกีฬาแต่ละชนิด
  2. ผู้เล่นแสดงความเคารพผู้ชมและคณะกรรมการผู้ตัดสินทั้งก่อน และหลังการแข่งขันด้วยการไหว้เพื่อแสดงถึงวัฒนธรรมไทย
  3. ผู้เล่นแข่งขันอย่างเต็มกำลังความสามารถ และปฏิบัติตามกติกาการแข่งขันอย่างเคร่งครัด
  4. ผู้เล่นเชื่อฟังคำแนะนำสั่งสอนของผู้ฝึกสอน และยอมรับคำตัดสินของกรรมการผู้ตัดสิน
  5. ผู้เล่นแสดงกิริยาวาจาสุภาพต่อกรรมการผู้ตัดสิน กองเชียร์ และผู้ชม
ในส่วนของผู้ชมและผู้เชียร์กีฬาที่ดี กำหนดไว้ 7 ข้อ ได้แก่
  1. ผู้ชมและผู้เชียร์แสดงความเคารพประธานในพิธี เมื่อประธานมาถึงสนาม ด้วยการลุกขึ้นยืนต้อนรับ
  2. ผู้ชมและผู้เชียร์ใช้การปรบมือแสดงถึงการให้เกียรติ แสดงความยินดี และให้กำลังใจนักกีฬา
  3. กรรมการผู้ตัดสิน ทั้งก่อนการแข่งขัน ระหว่างแข่งขัน และหลังจบการแข่งขัน
  4. ผู้ชมและผู้เชียร์เชียร์ด้วยถ้อยคำที่สุภาพ ไม่หยาบคาย ไม่เย้ยหยัน ไม่ก้าวร้าว อันนำไปสู่การทะเลาะวิวาท
  5. ผู้ชมและผู้เชียร์ยอมรับคำตัดสินของกรรมการผู้ตัดสิน
  6. ผู้ชมและผู้เชียร์ละเว้นการสูบบุหรี่และดื่มสุรา ของมึนเมา ตลอดจนไม่เล่นการพนันในสนามแข่งขัน
  7. ผู้ชมและผู้เชียร์ร่วมแสดงความยินดีแก่ทีมที่ชนะ และให้กำลังใจแก่ทีมที่แพ้ ด้วยการปรบมือ และร่วมเป็นเกียรติแก่นักกีฬาจนเสร็จสิ้นพิธีมอบรางวัล
  8. ผู้ชมและผู้เชียร์ ไม่แสดงกิริยาวาจาซ้ำเติม ในขณะที่นักกีฬาเพลี่ยงพล้ำระหว่างการแข่งขัน ควรปรบมือให้กำลังใจนักกีฬาให้ลุกขึ้นสู้ต่อไป
อย่างไรก็ตาม ร้อยโท สุวิทย์ ยอดมณี ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในการปลูกฝังค่านิยมและวัฒนธรรมการเล่น ชม และเชียร์กีฬา เป็นสิ่งที่ครูอาจารย์ ผู้นำชุมชน ผู้ปกครอง และประชาชนโดยทั่วไป จะต้องช่วยกันปลูกฝังแก่บุตรหลานและเยาวชนชาวไทย ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีสถาบันพลศึกษา และโรงเรียนกีฬาในสังกัดกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา มีการเรียนการสอนถึงกฎกติกา มารยาทและวัฒนธรรมที่ดี แก่นักกีฬาและนักเรียน เป็นหน่วยงานหลัก แต่อาจยังไม่แพร่หลายไปสู่ประชาชนทั่วไป

ดังนั้นจึงขอความร่วมมือจากทุกท่านทุกหน่วยงานช่วยกันรณรงค์เผยแพร่ประกาศและวัฒนธรรมที่ดีดังกล่าว ให้ขยายไปทุกมุมเมืองของประเทศไทย และเห็นว่า ความมีน้ำใจนักกีฬา มิใช่ต้องมีเฉพาะนักกีฬาที่ลงแข่งขันเท่านั้น หากยังต้องอยู่ในจิตใจและวิถีชีวิตของคนไทยในชีวิตประจำวันด้วย

ที่มา การกีฬาแห่งประเทศไทย

วันพฤหัสบดีที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2551

เมื่อสโมสรของไทยจะเป็นสโมสรอาชีพ


จากการที่ AFC ได้ตั้งมาตรฐานของสโมสรฟุตบอลที่สามารถเล่นใน AFC Champions League ได้นั้นอันดับแรกเลยคงต้องจดทะเบียน/บริหารในรูปแบบของบริษัทก่อน โดยที่ทีมแรกที่จะทำก็คือทีมชลบุรี ตามรายงานข่าวของนสพ.ไทยรัฐ ซึ่งก็จะเป็นสโมสรแรกของประเทศไทยที่อยู่ในรูปแบบของบริษัท
ซึ่งจะทำให้ถ้าจะมีเว็บในนามบริษัท จะต้องจดทะเบียน .co.th โดยชื่อโดเมนก็อาจจะเป็น Chonburifc.co.th ก็ได้ซึ่งการจดโดเมนที่ลงท้ายด้วย .co.th ผู้ที่สามารถจดทะเบียนชื่อโดเมนนี้ได้ต้องเป็น บริษัท, ห้างหุ้นส่วน เอกสารที่ใช้ในการจดโดเมนก็คือ หนังสือรับรองการจดทะเบียนบริษัท หรือ ใบ ภ.พ. 20 (ภาษีมูลค่าเพิ่ม)
โดยการจดทะเบียนสามารถจดกับผู้ให้บริการในประเทศไทยซึ่งมี่ดังนี้

แต่สโมสรฟุตบอลแรกที่จดทะเบียน .co.th ไม่ใช่สโมสรในประเทศไทย แต่คือสโมสรแมนเชสเตอร์ซิตี้ http://www.mcfc.co.th/



วันเสาร์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2551

แผนที่สนามเหย้าไทยลีก ดิวิชั่น 1 ปี2551


View Larger Map

หลังจากที่ทำแผนที่ไทยลีก ก็ไม่คิดว่ากระแสตอบรับจะแรงขนาดนี้ ตอนนี้มีคนมาดูแผนที่ตั้งแต่วีนที่ 24 มีนาคม 2551 ไปแล้วกว่า 1400 คน หวังว่าแผนที่นี้จะช่วยพัฒนาลีกฟุตบอลในบ้านเรา ในแง่ของการเพิ่มกองเชียร์บ้างนะครับ

วันพฤหัสบดีที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2551

ไปดูแผนที่สนามของ S-League กัน

S-League Stadium

สิงคโปร์เป็นประเทศ(เกาะ)เล็กๆ แต่ก็มีฟุตบอลลีกอาชีพที่มีมาตรฐาน (แต่ฝีมือสู้เราไม่ได้) ผมได้เข้าไปดูเวป ของ S-League ในส่วนของแผนที่สนาม ก็ต้องยอมรับว่าทำได้ดีมากทีเดียว

ถ้าเราอยู่ที่ Jurong และต้องการไปที่สนาม Chao Chu Kang Stadium เราก็แค่พิมพ์ Jurong ที่ Travelling From: และเลือกสนามจาก Travelling To: แล้วคลิกปุ่ม Go
จะมีการบอกวิธีการเดินทาง (โดยรถยนต์) อย่างละเอียด ทำให้สามารถไปที่สนามได้อย่างง่ายดาย
หากไม่มีรถยนต์ เราสามารถไปที่สนามได้ทางรถประจำทางหรือทางรถไฟ ตามข้อมูลที่ให้ไว้ในแผนที่
หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมก็สามารถดูที่ More Information ก็จะมีข้อมูลสนามโดยละเอียด

อยากให้เวปของสโมสรฟุตบอลในประเทศไทยทำอย่างนี้บ้างจัง
Link ที่เกียวข้อง: Read News : เรื่องเล่าจาก "เอสลีก"

วันจันทร์ที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2551

มาดูแผนที่สนามในเว็บสโมสรไทยลีกกัน

ด้วยความบ้าที่ทำแผนที่ทั้ง 16 ทีมไทยลีกไปเมื่อสองอาทิตย์ก่อนนั้น ทำให้ทราบว่าเว็บของสโมสรในไทยลีก ยังมีข้อที่ต้องปรับปรุงอยู่หลายจุด แต่จุดที่สำคัญที่ต้องปรับอย่างเร่งด่วนก็คือ "แผนที่สนามเหย้าของโสมสร"
ผมจะนำภาพของแต่ละเว็บมาให้ดูนะครับว่าแต่ละสโมสรทำแผนที่กันอย่างไร
เริ่มจาก สโมสรฟุตบอลจังหวัดชลบุรี
http://www.chonburifc.net/map.html
ถือว่าใช้ได้เลยทีเดียว รับรองมาถึงสนามแน่ๆ แต่เสียอยู่อย่างเดียวก็คือ
Link ที่จะมาที่หน้านี้ดันเสียนะครับ Webmaster ช่วยปรับปรุงด่วน

สโมสรฟุตบอลจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เว็บนี้ไม่มีแผนที่ครับ เพราะคิดว่าคนกรุงเทพใครไม่รู้จักจุฬาฯก็คงจะเชย แต่ไอ้ทางไปสนามนะสิ ถ้าไปที่มหาวิทยาลัยแล้วไปยังไง อยู่ฝั่งไหน ข้อมูลตรงนี้ไม่มีเลย ถ้าไม่ใช่นิสิตก็คงไม่รู้นะครับ
ดูรูปภาพสนามได้ที่นี่ http://www.chulafc.com/vipcard.htm

สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย
ถึงจะใช้สนามเหย้าเดียวกับจุฬาฯ(เช่า) แต่ก็มีแผนที่ครับ เข้าไปดูได้ที่ ประวัติโสมสร และคลิกที่ >>แผนที่สนามจุฬา ทำได้เยี่ยมมากเลยครับ ถ้าเพิ่มข้อมูลรถเมล์สายที่ผ่าน และสถานีรถไฟฟ้า BTS/MRT ด้วยจะสุดยอดเลยครับ


สโมสรฟุตบอลศุลกากร
แผนที่ดูยากมากๆ และไม่ใช่สัดส่วนจริงด้วย ถ้าผมไม่ใช่คนแถวนั้นก็หลงแน่นอน เข้าไปดูแผนที่จริงได้ที่ http://www.customsfc.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=5349495


สโมสรฟุตบอลการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
เว็บนี้มีแค่แผนที่สนามฝึกซ้อมและรูปสนามเหย้า แต่ไม่มีแผนที่สนามเหย้าครับ หรือผมอาจจะหาไม่เจอก็ได้ Link ของสนามอยู่ที่นี่ http://www.peafc.com/left.php?data=stadium

ยังมีต่อนะครับ...

วันพฤหัสบดีที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2551

แผนที่สนามเหย้าไทยลีก 2551

กระแสบอลไทยตอนนี้กำลังแรงมาก ถ้าไม่นับการที่โดนโอมานมาชนะเราถึงบ้าน ช่วงนี้ก็เป็นกระแสที่แรงสุดๆ เลย

ผมติดตามบอลไทยมาตั้งแต่สมัยคุณปิยะพงษ์กำลังดังอยู่, ติดตามเซมิโปรลีก, จนกระทั่งเป็นไทยลีกปัจจุบัน
ปีที่แล้วผมมีโอกาสเข้าไปเชียร์บอลที่สนามกีฬากองทัพบก เนื่องจากใกล้บ้าน (ดินแดง) โดยเริ่มจากรายการปรีโอลิมปิคและ AFC Champion League (ม.กรุงเทพ)

เดือนพฤษภาคมไปร่วมงาน Google Party ที่ประเทศสิงคโปร์ และเกือบจะได้ดูชลบุรีที่ไปเตะสิงคโปร์คัพ แต่เสียดายไม่ได้ไปดู แต่ก็มีโอกาสพบแฟนคลับของชลบุรี FC ทีสนามบินชางงี ตอนขากลับ

ปีนี้ผมมีโอกาสไปเชียร์ชลบุรีFC ที่สนามศุภชลาศัย ในนัดที่เจอMelbourne Victory FC และไปเชียร์ทีมชาติไทยvsโอมาน ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน

เนื่องจากผมเข้าไปดูเวปของชลบุรีบ่อยๆ และเห็นกระทู้หนึ่งถามถึงแผนที่สนามเหย้าของยาสูบ ผมก็เลยไปหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ตโดย Google Maps ช่วยในการทำแผนที่ และ Post ตอบไว้ (ตอนนั้นเข้าใจว่ายังอยู่ที่สนามเทพหัสดิน)

หลังจากนั้นมันติดลมครับ นั่งหาแผนที่สนามของทุกทีมทั้งคืนเลย แถมแต่ละทีมหายากมากๆ เพราะเกือบทุกทีม แม้กระทั่งทีมใหญ่ๆ ก็ไม่มีแผนที่สนาม หรือมีให้ดูก็ดูไม่รู้เรื่อง ผมต้องไปหาในวิกิพีเดียบ้าง ไปหาในเวปจังหวัดบ้าง ไปหาใน Search Engine บ้าง จนได้แผนที่สนามเย้าไทยลีกปี2551 ที่สมบูรณ์


View Larger Map

ปล. ตอนนี้กำลังทำของ Division1 อยู่ ใครมีอะไรก็แนะนำด้วยนะครับ